วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประมวลวิชา (Course Syllabus)ทฤษฎีบัญชี (0702321)

ประมวลวิชา (Course Syllabus)
วิชาทฤษฎีบัญชี (0702312)
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

***************************

1. ชื่อวิชา (Course Title)
1.1 ภาษาไทย : ทฤษฎีบัญชี
1.2 ภาษาอังกฤษ : Accounting Theory
2. จำนวนหน่วยกิต Course Credit) 3 หน่วยกิต
3. วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Prerequisite) หลักการบัญชี
4. เป็นวิชาที่สังกัดใน คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
5. อาจารย์ผู้สอน (Masters) อ.รักขิฏา เอี่ยมวิจารณ์
6. คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางการบัญชี สภาพแวดล้อมทางการบัญชี โครงสร้างและแนวคิดทางการบัญชีเพื่อเชื่อมโยงมาสู่มาตรฐานการบัญชี การวัดผลการดำเนินงานจากรายได้และค่าใช้จ่าย การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ตลอดจนการจัดทำงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน
7. ประมวลการเรียนรายวิชา (Course outline)
7.1 ความมุ่งหมาย
7.1.1 เพื่อทราบถึงโครงสร้าง แนวคิดทางการบัญชี และแม่บททางการบัญชีที่เป็นพื้นฐานของมาตรฐานการบัญชีและนโยบายการบัญชีต่าง ๆ
7.1.2 เพื่อทราบถึงแนวคิดและหลักการรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย และการวัดผลกำไร
7.1.3 เพื่อทราบถึงหลักการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และการตัดจำหน่าย หนี้สิน และประมาณการหนี้สิน ส่วนของเจ้าของ และกำไร
7.1.4 เพื่อทราบถึงแนวทางการจัดทำและนำเสนองบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
7.2 เนื้อเรื่อง
7.2.1 วิวัฒนาการทางการบัญชีและสภาพแวดล้อมทางการบัญชี
7.2.2 โครงสร้างของทฤษฎีบัญชี
7.2.3 แนวคิดที่สำคัญทางการบัญชี
7.2.4 แม่บทการบัญชี
7.2.5 มาตรฐานการบัญชี
7.2.6 งบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงิน
7.2.7 การบัญชีตามความรับผิดชอบต่อสังคม

7.3 วิธีดำเนินการเรียนการสอน
1. บรรยาย
2. การศึกษาค้นคว้างานที่มอบหมาย
3. แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
7.4 วิธีประเมินผลการเรียนการสอน
1. สอบกลางภาค ร้อยละ 35
2. สอบปลายภาค 35
3. งานที่มอบหมาย 20
4. มีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10
รวม 100
8. ตำราเรียน
8.1 นิพนธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. ทฤษฎีการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1,2 กรุงเทพฯ, 2549.
8.2 แม่บทการบัญชี (Accounting Framework)
8.3 มาตรฐานการบัญชีของไทยฉบับที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)ภาษีอากร

ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
การภาษีอากร (Taxation)
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

**********************************

ชื่อวิชา (Course Title)
ภาษาไทย : 0705251 การภาษีอากร
ภาษาอังกฤษ : 0705251 Taxation
ชื่อผู้สอน อาจารย์รักขิฏา เอี่ยมวิจารณ์
จำนวนหน่วยกิต (Course Credit) 3(3-0-6)
เป็นวิชาระดับ ปริญญาตรี
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน -
คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
ศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษีอากรที่บังคับใช้ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เข้าใจแนวความคิดเกี่ยวกับภาษีอากร และการจัดเก็บภาษีอากร
2. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษีอากรที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
3. เพื่อให้สามารถคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ได้
4. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และเอกสารทางภาษีที่ต้องจัดทำ
5. เพื่อให้เข้าใจหลักการยื่นแบบแสดงรายการ การชำระภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ได้
6. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการคืนภาษีและการตรวจการเสียภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ รวมทั้งบทบังคับโทษ
เนื้อหา
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
3. ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
6. การยื่นแบบแสดงรายการ การนำส่งภาษี และการชำระภาษี
7. การคืนภาษีและการตรวจการเสียภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ
8. อากรแสตมป์
9. ภาษีโรงเรือน และภาษีบำรุงท้องที่
10. ภาษีสรรพสามิต
11. ภาษีศุลกากร
12. ภาษีป้าย
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยาย
2. อภิปรายในชั้นเรียน
3. รายงาน
วิธีประเมินผลการเรียน
1. สอบกลางภาค 35%
2. สอบปลายภาค 40%
3. ทดสอบย่อย 15%
4. รายงาน 10%
ตำราเรียนหลัก
กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2551
หนังสืออ่านประกอบ
รศ.เพิ่มบุญ แก้วเขียว รศ.อรวรรณ พจนานุรัตน์. ประมวลรัษฎากรฉบับประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 16).
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2550
ไพจิตร โรจนวานิช. ภาษีสรรพากร คำอธิบายประมวลรัษฎากร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สาม
เจริญพาณิชย์ จำกัด, 2544
สมเดช โรจน์คุรีเสถียร. การบัญชีภาษีอากร.กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมนิติเพรส จำกัด, 2547

ประมวลผลรายวิชา (Course Syllabus) บัญชีขั้นต้น

ประมวลผลรายวิชา (Course Syllabus)
วิชา การบัญชีขั้นต้น (0702220)

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
*****************

1. ชื่อวิชา (Course Title) : การบัญชีขั้นต้น (Fundamental Accounting)

2. จำนวนหน่วยกิต (Course Credit) : 3 หน่วยกิต (3-0-6)

3. วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Prerequisite) : -

4. อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์โชติญาณ์ หิตะพงศ์ และอาจารย์รักขิฏา เอี่ยมวิจารณ์ ห้องพัก 225

5. คำอธิบายรายวิชา (Course Description) :
ศึกษาเกี่ยวกับวงจรบัญชีตั้งแต่การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกิจการซื้อมาขายไปและกิจการบริการ การแยกประเภทบัญชี งบทดลอง กระดาษทำการ การปรับปรุงรายการบัญชี การปิดบัญชีและการจัดทำ งบการเงิน รวมทั้งการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ การบัญชีของกิจการผลิตสินค้า และหลักการภาษีมูลค่าเพิ่ม

6. ประมวลการเรียนรายวิชา (Course Outline) :
6.1 จุดมุ่งหมาย
6.1.1 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชี และสามารถจัดทำบัญชีสำหรับกิจการซื้อมาขายไป
กิจการบริการ และกิจการผลิตสินค้า
6.1.2 เพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปได้
6.1.3 เพื่อให้เข้าใจหลักการภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้อง
6.2 วิธีดำเนินการสอน
6.2.1 การบรรยายและอภิปรายในชั้นเรียน
6.2.2 แบบฝึกหัดและการศึกษาค้นคว้า
6.3 วิธีประเมินผลการเรียน
สอบกลางภาค ร้อยละ 40
สอบปลายภาค ร้อยละ 40
แบบฝึกหัด/งาน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ร้อยละ 10
การเข้าเรียน ร้อยละ 10
6.4 ตำราเรียนหลัก
เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์ วรศักดิ์ ทุมมานนท์. หลักการบัญชี 1. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
วัฒนา ศิวะเกื้อ ดุษฎี สงวนชาติ และ นันทพร พิทยะ. การบัญชีขั้นต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.


6.5 หนังสืออ่านประกอบ
ดวงสมร อรพินท์ และคณะ. การบัญชีการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
ธารี หิรัญรัศมี และคณะ. การบัญชีเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
Weygandt, Jerry J., Kieso, Donald E., and Kimmel, Paul D., Accounting Principles. (5th Ed). Newyork : John Wiley & Sons, 1999

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)หลักการบัญชี




ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

*************************************

ชื่อวิชา (Course Title)
ภาษาไทย : 0702221 หลักการบัญชี
ภาษาอังกฤษ : 0702221 Principles of Accounting
ชื่อผู้สอน อาจารย์รักขิฏา เอี่ยมวิจารณ์
จำนวนหน่วยกิต (Course Credit) 3(3-0-6)
เป็นวิชาที่สังกัดอยู่ใน สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
เป็นวิชาระดับ ปริญญาตรี
คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
ศึกษาเกี่ยวกับวงจรบัญชี ตั้งแต่การจดบันทึกและวิเคราะห์รายการค้า การเลือกใช้ประเภทของสมุดรายวันขั้นต้น การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกิจการซื้อมาขายไป และกิจการบริการ การแยกประเภทบัญชี ทำงบทดลอง และจัดทำงบการเงิน รวมทั้งการบัญชีสำหรับการบันทึกสินค้าคงเหลือ การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม และสมุดรายวันเฉพาะ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เข้าใจแนวความคิดเกี่ยวกับการบัญชี และข้อสมมติฐานทางการบัญชี
2. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชี และการทำบัญชีสำหรับกิจการให้บริการ และกิจการซื้อขายสินค้า
3. เพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปได้
4. เพื่อให้เข้าใจหลักการภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหา
1. ลักษณะและแนวคิดขั้นพื้นฐานของการบัญชี
2. งบการเงิน
3. กระบวนการบันทึกบัญชี
4. การปรับปรุงบัญชี
5. การปิดบัญชีและการจัดทำงบการเงิน
6. การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า
7. การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
8. สมุดรายวันเฉพาะ
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยาย
2. อภิปรายในชั้นเรียน
3. แบบฝึกหัด
วิธีประเมินผลการเรียน
1. สอบกลางภาค 40%
2. สอบปลายภาค 40%
3. ทดสอบย่อย 10%
4. แบบฝึกหัดและความตั้งใจเรียน 10%
เกณฑ์การประเมินผลการเรียน
ระดับผลการเรียน A – E ประเมินผลการเรียนโดยอิงกลุ่มผู้เรียน
ตำราเรียนหลัก
เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์ วรศักดิ์ ทุมมานนท์. หลักการบัญชี 1. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
หนังสืออ่านประกอบ
วัฒนา ศิวะเกื้อ ดุษฎี สงวนชาติ และ นันทพร พิทยะ. การบัญชีขั้นต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
ธารี หิรัญรัศมี และคณะ. การบัญชีเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
ดวงสมร อรพินท์ และคณะ. การบัญชีการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Jerry J. Weygandt, Donald E. Kieso & Walter G. Kell. Accounting Principles. (4th Ed).
Newyork : John Wiley & Sons, 1996.